วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานประเพณีแข่งขันเรือยาว จ.บุรีรัมย์


งานประเพณีแข่งขันเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทานฯ จังหวัดบุรีรัมย์    วันที่ 3 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ณ ลำน้ำมูล หน้าที่ว่าการอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และมีการแข่งขันช้างว่ายน้ำในงานประเพณีแข่งขันเรือยาวฯ ดังกล่าวด้วย







ประเภทเรือยาว ที่เข้าแข่งขัน ได้แก่

เรือไม้ ก. 55 ฝีพาย
1. เรือเจ้าพ่อวังกรูด แชมป์ 3 สมัย แห่งลุ่มน้ำมูล
2. เรือรักไทย
3. เรือเจ้าแม่คำปลิว
4. เรือสิงห์ปทุม
5. เรือหงษ์นคร
6. เรือเจ้าขุนเณร
7. เรือเทพหงษ์ทอง
8. เรือเจ้าแม่คำไหล


เรือไม้ ข.
1. เจ้าแม่ธรรมเนียม
2. เทพนารายณ์
3. น.ส.สมภาส  สมสะอาด
4. พลังหนุ่ม
5. เจ้าแม่บัวทอง
6. เพชรวารินทร์
7. เทพจินดา
8. เทพศิลาทอง
9. เทพยูงทอง
10. เทพมงคลชัย
11. เทพปทุมทอง


เรือไม้ ค.
1. เทพรัตน์
2. เทพวินยากร
3. ย่าคำไหล
4. เจ้าแม่น้ำมูล
5. ม.นครพนม
6. หงษ์ฟ้านคร
7. สิงห์สาคร


เรือท้องถิ่น (โลหะ)
1. เจ้าแม่ศรีนครเตา (ม.2 ประมง)
2. เทพบูรพา (ม.10 สตึกบูรพา)
3. มิ่งขวัญ (ม.2 ขนวน)
4. ศรีไชโย (ม.9 โรงเลื่อย)
5. เทพนิคม (ม.7 นิคม)
6. เจ้าวายุ (ม.5 หนองบัวใต้)
7. ศรีธนชัย (ม.11  หนองบัวเงิน)
8. เจ้าปู่หลวงอุดม (ม.12 หนองบัวเหนือ)
9. นางสาวบัวไหล (บ้านท่าเรือ)
10. เทพอุดมชัย (บ้านตะแบง)
11. ธิดาตะเคียนทอง (บ้านยางน้ำใส)
12. บ้านสวายสอ
13. วารีวรเขต (บ้านโคกก่อง)
14. เด่นนาวา (บ้านกุดชุมแสง)




ประวัติ
งานประเพณีแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานฯ

ประเพณีแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 จนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ ในระยะเริ่มแรกของการแข่งขันจะเป็นประเพณีเทศกาลของชาวบ้านทั่วไปซึ่งหลังจากเสร็จภารกิจจากฤดูการทำนา ชาวบ้านที่อาศัย 2 ฝั่งแม่น้ำมูลจะนำเรือซึ่งเป็นพาหนะสัญจรและเป็นพาหนะในการหาปลามาทำการแข่งขันเพื่อสร้างความรัก ความสามัคคี ความผูกพันกับสายน้ำแห่งชีวิตของตนเอง

การแข่งขันเรือยาวในยุคแรก  เริ่มมีการแข่งขันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 –2519 ร่วม 30 ปี เป็นการแข่งขันเทศกาลรื่นเริงหลังจากฤดูกาลทำนาได้ผ่านพ้นไปเนื่องจากมีน้ำ มูลไหลผ่านชาวบ้านจึงนำเรือที่สัญจรไปมาเข้าทำการแข่งขัน และมีการพัฒนาขุดเรือแข่งมีความยาวขึ้น ฝีพายนั่งได้มากขึ้น มีเรือจากหมู่บ้านใกล้เคียงสมทบเข้าแข่งขันมากขึ้นทุกปี

ยุค “โลหะ” ประมาณปี พ.ศ. 2520 นายอำเภอสุชาติ รัมมะรัตน์ เห็นว่าในแต่ละปีมีเรือที่เข้าทำการแข่งขันน้อยมาก จึงเสนอให้ชาวบ้านต่อเรือเข็มขนาดฝีพาย 8-15 คน ลองเข้าทำการแข่งขัน และได้ต่อเรือโลหะฝีพายไม่เกิน 30 คน ทำการแข่งขันเรื่อยมา ในปี พ.ศ. 2529 คณะกรรมการดำเนินการแข่งขันได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลแก่ทีมเรือที่ชนะเลิศ นอกจากประเพณีแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานฯ ดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการได้มีมติเห็นชอบร่วมกันให้จัดกิจกรรมเพิ่ม คือมีการแข่งขันช้างว่ายน้ำ และประกวดกองเชียร์ทีมเรือต่างๆซึ่งสืบทอดประเพณีการแข่งขันและการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน

ยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้เชิญเรือไม้ขนาดกลาง ไม่เกิน 40 ฝีพาย ขนาดใหญ่ไม่เกิน 55 ฝีพาย จากอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมแข่งขัน ทาง คณะอำนวยการจัดการแข่งขันได้ทำหนังสือถึงสำนักพระราชวังกราบบังคมทูลขอถ้วย พระราชทานเรือไม้ขนาดใหญ่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและ ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

































































































ดู สะพานข้ามแม่น้ำมูล อ.สตึก ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า



ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ผลการค้นหา คำค้น " แข่งขันเรือยาว "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น