วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

เกษตรขี้เกียจ

เกษตรขี้เกียจ  หลายคนได้ยินได้ฟังแล้วคงรู้สึกไม่ดีไปตามๆ กัน หรือไม่..ก็...สงสัยว่า... ขี้เกียจอย่างไร ดี หรือไม่ดีอย่างไร ที่มาของเรื่อง " เกษตรขี้เกียจ " มีอยู่ว่า... จากการที่ข้าพเจ้า (ผู้เขียน) ได้ออกพื้นที่ไปถ่ายทำรายการ เก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการเกษตร พบว่า..มีวิธีการทำการเกษตรหลากหลายรูปแบบตามความถนัดของเกษตรกรแตกต่างกันไป บ้างก็คล้ายคลึงกัน ถึงแม้จะไม่เหมือนกันสะทีเดียว ผ่านไป 5 ปีแล้ว ก็ยังไม่เคยเห็นที่ใดทำการเกษตรแบบที่ข้าพเจ้าจะเล่าถึงเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในอีกมุมหนึ่งของชีวิต "คุณแม่วิไลวรรณ  กำลังกล้า" นั่นคือ การทำการเกษตรแบบ " ขี้เกียจ " ที่บ้านเลขที่ 17 หมู่ 2 ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์

การทำ " เกษตรขี้เกียจ " บนพื้นที่ดิน 1 ไร่ ของคุณแม่วิไลวรรณ กำลังกล้า (เจ้าของโครงการเกษตรขี้เกียจ) เล่าว่า... " อยากกินอะไรก็หาเอามาปลูก จะเกิด ก็ให้มันเกิดไป จะตาย (ไม่เกิด) ก็ให้มันตายไป ....."  ข้าพเจ้าก็ร้องอ้าว.... เอ๊ะ ! ยังไงกันเนี่ย... ฟังดูแรกๆ นึกว่าคุณแม่พูดเล่นๆ ไปตามประสาคนแก่พูดหยอกลูกๆ หลานๆ แบบไม่มีสาระอะไร และท่านได้เล่าต่อว่า...." แล้วก็เอาเวลาส่วนใหญ่ไปสัมมาอาชีพของตนทำงานอื่นของตัวเองไป ข้าราชการก็ทำไป ค้าขายก็ทำไป ทำนาก็ทำไป รวมทั้งเอ็งด้วย (หมายถึงข้าพเจ้า) อยากไปเที่ยวไหนก็ไป......."  ( หึ๋ย..ย..)

แต่เกร็ดความรู้ที่คุณแม่ได้เอ่ยถึงต่อไปนี้ ก็อดคิดตามไม่ได้ นั่นคือ " เราจะฝืนปลูกพืชที่มันผิดแปลกแหวกแนวจากธรรมชาติที่มันเคยอยู่เคยเกิดทำไมกัน เพื่ออะไร เพื่อให้ได้ขึ้นชื่อว่าเราเป็นคนเก่งสามารถปลูกพืชนอกฤดู หรือปลูกพืชต่างถิ่นได้อย่างนั้นหรือ แล้วเราต้องเสียเวลาลงทุน ลงแรง ไปตั้งอีกเท่าไหร่ สุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครปลูกพืชได้สมบูรณ์เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์หรอก อันไหนเรามีเราก็กินอันนั้นแหละ อันไหนเราไม่มีก็ต้องซื้อเขาอยู่ดี เขาก็เหมือนกัน...เขาไม่มี เขาก็ต้องซื้อเราเหมือนกันนั่นแหละ ไม่ใช่ว่า...เราจะซื้อเขาแต่เพียงฝ่ายเดียว ในเมื่อเรามีที่ดินอยู่ถึงจะไม่มากก็ควรที่จะมีปลูกพืชผักไว้บ้าง อย่างน้อยก็ไม่ต้องไปซื้อเขาหมดทุกอย่าง และอีกอย่าง คือ ผักในสวนทีเราปลูกเองก็ปลอดสารพิษ กินอร่อย สบายใจด้วย ส่วนผักที่เราไปซื้อเขามาเราก็ไม่รู้ว่ามีสารเคมีปนเปื้อนมาด้วยหรือเปล่า เราก็จงเลือกกินผักที่เรามีอยู่ก่อนนี่แหละดีแล้ว "

จากการที่ได้ฟังคุณแม่วิไลวรรณ เล่ามานั้น ทำให้ข้าพเจ้านึกไปถึงทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วิน ทันทีเกี่ยวกับเรื่อง “การกำเนิดของชนิดพันธุ์โดยกระบวนการคัดสรรโดยธรรมชาติ (On the Origin of Species by Means of Natural Selection)”   เอ๊ะ..!! ยังไง กระไรอยู่นาาาา... ทฤษฎีนี้ดูคล้ายกับ " เกษตรขี้เกียจ " ของคุณแม่วิไลวรรณ สะงั้น... เห๋อๆ... เอ้า..ตามไปดูภาพ " เกษตรขี้เกียจ " กันเลยจร้าาาา....




ภาพบน และล่าง : สระน้ำ กว้าง 5 เมตร ยาว 15 เมตร ลึก 1.5 เมตร
ใช้เวลาขุด 6 เดือน วันละ  10 -  20 บุ้งกี๋



ภาพบน : ผักบุ้ง เกิดเองตามธรรมชาติ



ภาพบน และล่าง : ปล่อยพันธุ์ปลาดุก เพิ่มแหล่งโปรตีนให้กับครอบครัว
เลี้ยงแบบธรรมชาติ ต้นทุนต่ำ 300 ตัวๆ ละ 1 บาท




ภาพบน : แหล่งน้ำธรรมชาติ
ภาพล่าง : ลูกปลาช่อนในแหล่งน้ำธรรมชาติในสวน อิสานเรียกว่า " ปลาลูกคอก "



ภาพบน : ฝรั่ง อิสานเรียกว่า " บักสีดา "



ภาพบน : ต้นลำใย


ภาพบน : ห้างมันเลือด
ภาพล่าง : ต้นดอกบานเย็น อิสานเรียกว่า " ต้นดอกบานค่ำ " ไว้ไหว้พระ



ภาพบน : ดอกดาวเรือง
ภาพล่าง : บานไม่รู้โรย



ภาพบน : ต้นขี้เหล็ก
ภาพล่าง : ต้นกระเจี๊ยบ


ภาพล่าง : ต้นผักติ้ว



ภาพบน : ต้นบอน
ภาพล่าง : ต้นมะนาว



ภาพบน : หญ้าแฝก
ภาพล่าง : หญ้าคา



ภาพบน : ถั่วพลู
ภาพล่าง : มะละกอ อิสานเรียกว่า " บักหุ่ง "



ภาพบน : ต้นข่อย อิสานเรียกว่า " ต้นสะหนาย "
ภาพล่าง : เครือบรเพ็ด



ภาพบน : กระถิน
ภาพล่าง : ต้นหมาก



ภาพบน : ละหุ่ง อิสานเรียกว่า " บักหุ่งเทศ "
ภาพล่าง : ผักก้านตง



ภาพบน : สาคู
ภาพล่าง : ต้นนางกวัก ไม้ประดับ



ภาพบน : ต้นลำใย


ภาพบน : กะเพรา (ซ้าย) , โหระพา (ขวา)
ภาพล่าง : ต้นองุ่น



ภาพบน : กระท้อน พันธุ์ลูกโต
ภาพล่าง : ถั่วพลู



ภาพบน : ต้นสะเดา
ภาพล่าง : ต้นกก



ภาพบน : ต้นมะม่วง
ภาพล่าง : ต้นหม่อน อิสานเรียกว่า " ต้นมอน "



ภาพบน และล่าง : ต้นอีทือ (รับประทานลำต้น จิ้ม แจ่ว)



ภาพบน : ต้นดีวัว รับประทานกับลาบ  ฯลฯ
ภาพล่าง : กล้วยตานี ชนิดนี้อิสานเรียกว่า " กล้วยก้าย "



ภาพบน : กล้วยน้ำหว้า
ภาพล่าง : ต้นลิ้นฟ้า



ภาพบน : ตะไคร้
ภาพล่าง : กุยช่าย อิสานเรียกว่า " ผักแป้น "



ภาพบน : ต้นมะยม อิสานเรียกว่า " ต้นบักยม "
ภาพล่าง : ต้นสับปะรด อิสานเรียกว่า " ต้นบักนัด "




ภาพบน : ต้นพริก อิสานเรียกว่า " ต้นบักพิก "
ภาพล่าง : ใบเตย



ภาพบน : ต้นแก้วมังกร
ภาพล่าง : ผักหวานบ้าน



ภาพบน : ต้นข่าเหลือง
ภาพล่าง : ใบย่านาง



ภาพบน : ต้นบุก อิสานเรียกว่า " ต้นขมุก " หรือ " ต้นข้าวหมุก "
ภาพล่าง : ต้นมะกรูด อิสานเรียกว่า " ต้นบักกรูด "



ภาพบน : ต้นขนุน อิสานเรียกว่า " บักมี่ " หรือ " หมากมี่ "
ภาพล่าง : ต้นน้อยหน่า อิสานเรียกว่า " ต้นบักเขียบ "



ภาพบน : ต้นมะพร้าว อิสานเรียกว่า "บักพ่าว "
ภาพล่าง : ปุ๋ยหมัก



ภาพบน : ลูกหม่อน อิสานเรียกว่า " หน่วยมอน "
ภาพล่าง : ต้นน้อยหน่า อิสานเรียกว่า " ต้นบักเขียบ "



ภาพบน : ผักหูเสือ
ภาพล่าง : เครือต้นย่านาง เกิดเองตามธรรมชาติ
แค่นำกิ่งไม้เสียบทำห้างให้เครือย่านางเลื้อยขึ้นเอง



ภาพบน : กล้วยตานี ชนิดนี้อิสานเรียกว่า " กล้วยส้ม "
ภาพล่าง : ผลมะกรูด อิสานเรียกว่า " บักกูด "




ภาพบน : ว่านไพล อิสานเรียกว่า " หว่านไพ " หรือ " หว่านไฟ "
ภาพล่าง : อีลิ่ว อิสานเรียกว่า " อีเตื่อย "



ภาพบน : ถั่วแฮ
ภาพล่าง : มะเขือพวง อิสานเรียกว่า " บักแค่ง "



ภาพบน : ใบมะตูมอ่อน แจ่วลาบ ฯลฯ
ภาพล่าง : ต้นดอกมะลิ เมื่อยามออกดอกไว้ไหว้พระ



ภาพบน : ต้นมะรุม อิสานเรียกว่า " ผักอีฮุม "
ภาพล่าง : ต้นยอ อิสานเรียกว่า " ต้นอียอ "


ภาพล่าง : ลูกยอ



ภาพบน : ตำลึง อิสานเรียกว่า " ผักตำนิน "
ภาพล่าง : ต้นมะกอก อิสานเรียกว่า " ต้นบักกอก "




ภาพบน และล่าง : ผักปัง



ภาพบน : ผักสลิด อิสานเรียกว่า " ผักขิก "
ภาพล่าง : สาวน้อยประแป้ง ไม้ประดับ



ภาพบน : ต้นมะขาม อิสานเรียกว่า " ต้นบักขาม "
ภาพล่าง : กระชาย อิสานเรียกว่า " ขิงกะซาย "



ภาพบน : กระชายดำ


ภาพบน และล่าง : ขมิ้นชัน อิสานเรียกว่า " ขะหมิ่น "


ภาพล่าง : ดอกขมิ้นชัน



ภาพบน และล่าง : ขมิ้นอ้อย อิสานเรียกว่า " ขมิ้นหัวขึ้น "


ภาพล่าง : ต้นก้นจ้ำ



ภาพบน : ต้นสะตอ


ดอกกระเจียว



ภาพบน : ต้นทุเรียน
ภาพล่าง : ต้นมันแกว (มันแกวตะเภา)



ภาพบน : ต้นข้าวเม่า (ให้ผล มีรสเปรี้ยว)
ภาพล่าง : ต้นแมงลัก อีสานเรียก " ต้นอีตู่ "



ภาพบน : ต้นผักเสี้ยน
ภาพล่าง : ตะไคร้ อีสานเรียก " ขิงไค"



ภาพบน : ยอดผักติ้ว
ภาพล่าง : ดงบอน (ป่าบอน)











ภาพบน : ผักแพรว
ภาพล่าง : ต้นกระท้อน















ภาพล่าง : ปลาที่เลี้ยงไว้ เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554 (ปีที่ผ่านมา)








ก่อนจบ... มีเรื่องราวดีๆ ที่คุณแม่วิไลวรรณ เล่าให้ฟังต่ออีกว่า... สมัยแต่ก่อนแม่ลูกอ่อนอยู่ไฟใช้สมุนไพรประทินผิว ทำให้ผิวพรรณสวยงามเนียนใส ผุดผ่อง แลดูสดชื่น กลิ่นกายหอมนุ่มละมุนอย่างเป็นธรรมชาติ เอาเป็นว่า..ทำให้ทั้งชายใหญ่ชายน้อย ทั้งที่มีภรรยาอยู่แล้วก็เหอะ มาตามเเฝ้าตามจีบแม่ลูกอ่อนกันเป็นแซวๆ ( " เป็นแซวๆ " เป็นภาษาอิสาน แปลว่า " เป็นพรวน หรือ ไม่ขาดสาย หรือ เรื่อยๆ " )

ทีนี้ก็เริ่มอยากรู้แล้วว่า... สูตรสมุนไพรที่ทำให้คุณชายทั้งหลายลุ่มหลง ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ได้แก่ น้ำมะกรูด + ขมิ้นอ้อย หรือขมิ้นหัวขึ้น (ตำละเอียด) + ว่านหอม หรือถ้าได้ " ว่านเสน่ห์จันทร์หอม " (ตำละเอียด) ยิ่งดีมาก

นำส่วนผสมทั้งสามอย่างดังข้างต้น คลุกเคล้าเข้ากันอย่างดี แล้วใช้มือแตะๆ น้ำสมุนไพร นำมาทาประทินให้ทั่วผิวกาย ปล่อยไว้สักพักให้ผิวแห้ง แล้วใช้มือค่อยๆ ลูบเศษส่วนผสมตามร่างกายออก เพียงเท่านี้ก็จบแล้ว

ข้าพเจ้าขอต่อเอาเองอีกนิด คือ หากใครมีเครื่องอบตัวแบบไอน้ำ... ก็...ต่อด้วยการอบไอน้ำเลยคงจะดีไม่น้อย ก็เปรียบได้กับการอยู่ไฟไปด้วยสะเลย  อุ๊ย..บรรเจิดมว๊าาากกกก.... ว่าแล้วก็ไปลองเลยดีกว่า...อิอิ........




{ ปล. } สำหรับ " ว่านเสน่ห์จันทร์หอม " นั้น แค่โกยเอาดินที่อยู่รอบๆ หัวว่านเสน่ห์จันทร์หอมมาดม รู้สึกได้ถึงความหอม ขนาดทำให้ดินหอมได้ ลองคิดดูว่าหัวว่านจริงๆ แล้วจะหอมมากแค่ไหน...




ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ผลการค้นหา คำค้น " เกษตร "
2. ผลการค้นหา คำค้น " วิไลวรรณ กำลังกล้า "



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น