วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ประเมินผล "ผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม" ประจำปี 2554

นายสมบูรณ์   สิมมา  ผู้ใหญ่บ้านพลับ หมู่ ๔ ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของผู้ใหญ่บ้านเขตอำเภอสนม เพื่อรับการประเมินผล "ผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม" จากคณะกรรมการตรวจ และประเมินผลการคัดเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ประจำปี  ๒๕๕๔  ณ สถานที่ วัดหนองพลับ บ้านพลับ หมู่ที่ ๔ ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554


นายสมบูรณ์    สิมมา
ผู้ใหญ่บ้านพลับ หมู่ ๔ ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
ถ่ายเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554


ข้อมูลทั่วไป ที่นำเสนอต่อคณะกรรมการ

ความภูมิใจ
- สามารถจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนได้สำเร็จมีเงินทุนหมุนเวียน ๕,๔๐๐,๐๐๐ บาท
- หมู่บ้านได้รับการรับรองเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ระดับ “มั่งมี  ศรีสุข” ประจำปี  ๒๕๕๓
- สามารถพัฒนาหมู่บ้านและตนเองจนได้รับมาตรฐานงานชุมชน(มชช.) ทั้งประเภทชุมชนและตนเอง
- ประกาศเกียรติคุณจากศูนย์ประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดอำเภอสนม

วิสัยทัศน์
บ้านพลับแหล่งกองทุนเข้มแข็ง  เป็นแหล่งเรียนรู้ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านพลับ ตั้งอยู่ที่ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า “เขมร” อพยพมาจากบ้านตูม และบ้านพงสวาย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สาเหตุอพยพมาเพราะมีการประกอบอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียว ซึ่งพื้นที่นาส่วนมากติดกับลำน้ำมูล ทำให้น้ำท่วมนาไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร และต่อมามีผู้อาวุโสในหมู่บ้านได้เดินทางมาพบทำเลแห่งนี้ มีความเหมาะสมกับการประกอบอาชีพเพาะปลูกจึงพากันอพยพมาตั้งบ้านเรือน อยู่ ณ ที่หมู่บ้านปัจจุบัน “พลับ” เป็นชื่อของไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมมีต้นพลับขึ้นที่หนองน้ำหมู่บ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ไม้ชนิดนี้เป็นไม้มงคล มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง จึงนำมาตั้งเป็นชื่อว่า “ บ้านหนองพลับ” และต่อมาเรียกกันสั้นๆ ว่า “บ้านพลับ” และเรียกชื่อนี้จนถึงทุกวันนี้ อัตราส่วนของประชากรในปัจจุบัน “เขมร” ๗๐% “ลาว” ๓๐%
- มีเนื้อที่ ๒.๒๕ ตารางกิโลเมตร, พื้นที่ใช้ทำการเกษตร  ๒,๔๖๑ ไร่ มี ๑๔๑ ครัวเรือนจำนวนประชากรทั้งหมด  ๖๒๐ คน
- มีรายได้เฉลี่ย  ๔๙,๓๐๙ บาท/คน/ปี (ข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๓)
- ครัวเรือนมีการออม ๙๘.๓ % ของครัวเรือนทั้งหมด
- ผลผลิตที่จำหน่ายสู่ตลาดภายใน และภายนอกชุมชน   ได้แก่   ข้าวปลอดสารพิษ, ผักสวนครัว, ข้าวเม่า, ผ้าไหม, ใบหม่อน และผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่

จุดเด่นบ้านพลับ
- มีกิจกรรมที่หลากหลาย   มีการดำเนินงานที่เข้มแข็งเป็นที่ประจักษ์  คนในชุมชนได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน  
- สามารถแก้ไขปัญหาตนเองได้และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- มีผู้นำที่วุฒิภาวะ  มีศักยภาพและความเสียสละในการทำงานสูง
- คนในชุมชนมีความเอื้ออาทรต่อกัน  มีความรัก ความสามัคคี
- มีการจัดการชุมชน  ที่ทำให้ชาวบ้าน    รู้เท่าทัน  สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนได้   โดยเป็นการจัดการภายใต้แนวคิดแบบพึ่งพาตนเอง   ก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น
- มีวัฒนธรรมประเพณีโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์   เพราะเป็นหมู่บ้านที่ใช้ภาษาพูดเป็น  ภาษาเขมร   บ้านเดียวในอำเภอสนม
- มีขนบธรรมเนียม   ประเพณี   เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
- ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย   ในการดำเนินงานต่าง ๆ ผู้นำจะนำข้อมูลมาชี้แจงและขอความเห็นชอบจากเวทีประชาคม  โดยมีอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นสัญลักษณ์
- สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและนอกชุมชน
- มีกิจกรรมสร้างอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนที่หลากหลาย
- มีความสามารถในการสื่อสาร  และเรียนรู้ได้
- มีสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเป็นของตนเอง
- มีการนำแผนชุมชนไปปฏิบัติ
- มีการจัดสวัสดิการในชุมชน

กิจกรรมด้านการปกครอง
- การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและให้ความเป็นธรรม
- การสนับสนุนการจัดชุดปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรยาม
- ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของทางราชการให้ราษฎรทราบโดยทั่วกันสัปดาห์ละ ๓-๔ ครั้ง
- การส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย(มีการประชุม/ประชาคม/การทำแผนชุมชน)
- จัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ด้านต่าง
- การอนุรักษ์/ทรัพยากรฯ/วัฒนธรรมประเพณี
- จัดให้มีการประชุมราษฎรในหมู่บ้านเป็นประจำ ทุกเดือนๆละ  ๑-๒ ครั้ง  และจัดประชุมเมื่อมีข้อราชการเร่งด่วน
- จัดให้มีสวัสดิการ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- การจัดแบ่งคุ้มในแต่ละหมู่บ้าน


กิจกรรมด้านป้องกันปราบปรามยาเสพติด
- จัดประชุมประชาคมเพื่อชี้แจงต่อราษฎรเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติดเป็นประทุกเดือนเดือนละ  ๑  ครั้ง
- ร่วมกับวัดบ้านพลับ  อบต.และโรงเรียน ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเยาวชน
- มีการกำหนดกฎระเบียบในหมู่บ้าน  ถ้ามีคนในหมู่บ้านเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทุกประเภท  จะไม่มีสิทธิ์กู้ยืมเงินจากกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
- จัดตั้งกลุ่มเยาวชนขึ้นในหมู่บ้าน  โดยมอบหมายให้รุ่นพี่ ดูแล แนะนำรุ่นน้อง
- จัดชุดปราบปรามป้องกันยาเสพติด(อส.ปปส,) จำนวน  ๒๕  คน  มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบดูแล อส.ปปส. ๑  คน ต่อ  ๕-๖  ครัวเรือน
- ให้ทุกครัวเรือนนำบุตรหลานเข้าทำกิจกรรมร่วมกับวัดบ้านพลับทุกวันพระและในวันเทศกาลต่าง ๆ
- ร่วมกับ อบต.ส่งเสริมการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด
- มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กที่มีความประพฤติดี เป็นประจำทุกปี ๆ ละ  ๑๑  ทุน
- จัดเวรยามผู้นำชุมชนร่วมกับชุด อปพร. ออกตรวจตราความผิดปกติ สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง

กิจกรรมด้านการจัดระเบียบสังคม
- จัดให้มีสายตรวจออกตรวจตามหมู่บ้านต่างๆในเวลากลางคืน สัปดาห์ละ 2 วัน
- จัดให้มีการประชาคมประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันปัญหา
- จัดเวรยามหมู่บ้าน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- การแบ่งคุ้มในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย

กิจกรรมด้านแก้ไขปัญหาความยากจน
- สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับ “มั่งมี ศรีสุข”
- สนับสนุนการดำเนินงานกลุ่มอาชีพและกลุ่ม OTOP
- กำหนดกฎ ระเบียบไว้ในกองทุนต่างของหมู่บ้านเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส  ผู้ว่างงาน
- ส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพผู้พิการ  เช่น ผู้พิการทำหมอนฟักทอง
- สนับสนุนการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน
- ฐานการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ดำเนินการกลุ่มออมทรัพย์ฯ เพื่อส่งเสริมการออมให้กับชุมชน
- จัดหาทุนแก่กลุ่มแม่บ้าน
- ดำเนินงานโรงสีชุมชน
- ดำเนินการศูนย์สาธิตการตลาด
- ดำเนินงาน กทบ.
- สนับสนุนการเลี้ยงหมูหลุมเพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
- ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก/กบ/ปลา เพื่อลดรายจ่ายให้ครัวเรือน

กิจกรรมด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการปราบปรามผู้มีอิทธิพล
- ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชน
- สร้างค่านิยมที่ดี ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นแบบอย่างที่ดี
- สนับสนุนให้ประชาชนมีบทบาทในการตรวจสอบ

กิจกรรมด้านสาธารณสุข
- จัดแบ่ง อสม. ดูแลครัวเรือน  ๑ คนต่อ  ๑๐  ครัวเรือน
- การสนับสนุนการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน
  + ดำเนินกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย สัปดาห์ละ  ๑  ครั้ง ๏  ดำเนินการคัดกรองเบาหวานและวัดความดันให้แก่ชาวบ้าน  ๓  เดือน/ครั้ง
  + มีการจัดประกวดคัดเลือกคุ้ม/ครัวเรือนที่มีความสะอาด ถูกสุขลักษณะ
- การสนับสนุนการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน

กิจกรรมด้านการศึกษาและวัฒนธรรม
- สนับสนุนโครงการอาหารกลาวันแก่เด็กเล็ก  ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส  เนื่องในงานประเพณีต่าง ๆ ของหมู่บ้าน
- มีการร่วมจัดหาทุนสร้างศาลาการเปรียญ วัดบ้านพลับ
- จัดหาทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่เรียนดี
- สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิเจ้าอาวาสองค์
- ร่วมจัดสร้าง/ปรับปรุงวัดหลังเดิมที่ชำรุดพลับ
- สนับสนุนกิจกรรมทำบุญตักบาตรทุกวันพระโดยยึดหลักคำสอนขององค์พระพุทธเจ้า
- ร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านนาศรีสุข
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน เยาวชนในหมู่บ้านมีการรักษาศีลห้าทุกปี
- สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อร่วมอนุรักษ์ลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ฯลฯ

ผลงานดีเด่น
ด้านการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในหมู่บ้านได้น้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

๑.ด้านการลดรายจ่าย
- ปลูกพืช ผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์  ๑๔๑ ครัวเรือน
- ทำปุ๋ยหมักใช้เอง ๓๐ ครัวเรือน
- ส่งเสริมการ ลด ละ เลิก การพนัน   กินเหล้าในงานศพ/ประเพณี  ๑๔๑ ครัวเรือน

๒.ด้านเพิ่มรายได้
- ปลูกพืช ผัก หลังฤดูเก็บเกี่ยว ๑๔๑ ครัวเรือน 
- ทอผ้าไหม  ๔๐ ครัวเรือน
- ทำข้าวเม่า ขนม  ๘ ครัวเรือน     
- จักสาน  ช่างเฟอร์นิเจอร์  ๑๒ คน
- เลี้ยงหมูหลุม  ๓๐ ครัวเรือน

๓.ด้านประหยัด                                                        
- มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  ๑  กลุ่ม และมีกิจกรรมเครือข่าย  คือ  ศูนย์สาธิตการตลาด ธนาคารข้าว โรงสีชุมชน
- ครัวเรือนในหมู่บ้านเป็นสมาชิกกลุ่มที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน  จำนวน ๑๒ กลุ่ม เพื่อเก็บออมเงิน

๔.ด้านการเรียนรู้
- มีการส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ๑๔๑ ครัวเรือน 
- จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนและมีกิจกรรมการเรียนรู้ ๓ ฐาน ๘ สถานีการเรียนรู้

ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- ทำปุ๋ยหมักใช้เอง เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี 
- มีกิจกรรมการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ ๒  ครั้ง  ๔๐๐ ต้น
- มีกฎระเบียบ การใช้แหล่งน้ำ   และป่าสาธารณะ

ด้านการเอื้ออารีต่อกัน
- คนในชุมชน “รู้รัก สามัคคี”  ๑๔๑ ครัวเรือน
- คนในชุมชนมีการช่วยเหลือ แก่คนด้อยโอกาส  แลกเปลี่ยนและแบ่งปันกัน  ๑๔๑  ครัวเรือน
- กำหนดกฎระเบียบให้แต่ละกองทุนฯ นำเงินผลกำไร ย้อนช่วยเหลือชุมชน เช่น มอบทุนการศึกษา/อาหารกลางวันแก่เด็ก, ช่วยเหลือผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส
- ผลจากการดำเนินงานส่งเสริมการทำกิจกรรมตามตัวชี้วัด ๖x๒ ส่งผลให้ครัวเรือนในหมู่บ้านจำนวน ๓๓๑ คน  ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน จำนวน  ๑๒  กองทุน เพื่อเป็นการเก็บออมเงิน มีการพัฒนากองทุนชุมชนโดยใช้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นแกนนำในการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนได้เป็นผลสำเร็จ มีการเปิดดำเนินการเมื่อ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓

นอกจากนี้กิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้านยังสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่กลุ่มองค์กรที่สนใจศึกษาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้   โดยมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนขึ้นเมื่อ ปี  พ.ศ. ๒๕๕๑   และมีการขยายผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชนขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๕๓   มีการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ไว้ ๓ ฐานการเรียนรู้  คือ ฐานทุนชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรม  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  ศูนย์สาธิตการตลาด โรงสีชุมชน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน  และธนาคารข้าว ฐานการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรม  ทอผ้าไหม ข้าวเม่า จักรสานและช่างเฟอร์นิเจอร์       

เป็นผลให้บ้านพลับได้รับการยกระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจากระดับ  “พออยู่  พอกิน” พัฒนาขึ้นมาเป็น  หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับ  “มั่งมี  ศรีสุข”  ประจำปี  ๒๕๕๓ ได้รับการประกาศรับรองจากจังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่  ๒๗  กันยายน  ๒๕๕๓









































































































































































ดู วัดหนองพลับ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า



NNT สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

จ.สุรินทร์ เร่งตรวจสอบและประเมินผลงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้านดีเด่น ประจำปี 2554

วันนี้ (25 ม.ค. 54) นายประสิทธิ์ บุญลิขิต ปลัดจังหวัดสุรินทร์ ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมคณะกรรมการได้ลงพื้นที่ อำเภอลำดวน อ.สังขะ อ.บัวเชด อ.สำโรงทาบ อ.โนนนารายณ์ อ.สนม อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ เพื่อออกตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รับรางวัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2554

นายประสิทธิ์ บุญลิขิต ปลัดจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า การคัดเลือก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อมอบรางวัลกำนัน ผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม ซึ่งได้ดำเนินการคัดเลือกทุกปี เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ และเชิดชูเกียรติให้กับผู้ที่ได้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ ทุ่มเท ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน จังหวัดสุรินทร์ จึงได้ตั้งคณะกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย ปลัดจังหวัด จ่าจังหวัด ผู้แทนสาธารณสุขจังหวัด พัฒนาการจังหวัด เกษตรจังหวัด ผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัดและผู้แทนเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพิจารณาตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน โดยออกตรวจสอบในพื้นที่จริง ระหว่างวันที่ 24 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2554

ปลัดจังหวัดสุรินทร์ กล่าวด้วยว่า รางวัลกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ยอดเยี่ยม เป็นรางวัลที่กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญมาก ผู้ที่ได้รับรางวัลจะต้องเป็นที่ยอมรับของสังคมและเป็นแบบอย่างแก่สาธารณชนทั่วไป การพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการระดับอำเภอและจังหวัด ต้องเป็นธรรม โดยประเมินจากคุณลักษณะของบุคคลที่มีความเป็นผู้นำ มีความประพฤติดี และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยในปีนี้ มีกำนัน รวม 8 คน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 12 คน จากการคัดเลือกและเสนอชื่อของแต่ละอำเภอ เพื่อรับรางวัลกำนัน ผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม ประจำปี 2554


กิติวรรณ มณีล้ำ / ข่าว


ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : สุรินทร์(สวท.)   Rewriter : วรรณวิไล สนิทผล
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th


 วันที่ข่าว : 25 มกราคม 2554





ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น